ประวัติของโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส






โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส


ประวัติโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส




          เมื่อ  ปี  2509  พ่อค้า  ประชาชนชาววานรนิวาสมีความประสงค์ให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
ประจำอำเภอ เพื่อให้กลุบุตร กุลธิดา ได้เล่าเรียนโรงเรียนใกล้บ้านจึงมีการก่อตั้งโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส
ขึ้น มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมกัน สมทบทุนทรัพย์  ได้จำนวน  26,000  บาท  เพื่อก่อสร้างโรงเรียนขึ้นและในปีเดียวกัน   โรงเรียนมัธยมวานรนิวาสได้รับ คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 0704/5861 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2509 โดยให้จัดการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สายสามัญ แบบสหศึกษา สังกัดโรงเรียนส่วนภูมิภาค กองโรงเรียนรัฐบาล  สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ เลขที่ 400 หมู่ 4 ถนนเดื่อเจริญ(สายพังโคน-บึงกาฬ) ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ดังในปัจจุบัน   ช่วงแรกยังขาดอาคารเรียน ได้ใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวานรนิวาส ที่ตั้งอยู่ฝั่งทิศเหนือ (ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ฝั่งทางทิศเหนือของพื้นที่ปัจจุบัน) เมื่อปีการศึกษา  2510 อาคารเรียนก็แล้วเสร็จ (อาคารอำนวยการปัจจุบัน) นายบุญญรัตน์  เชาวนวีระกุล   วุฒิการศึกษา  พ.ม.,กศ.บ. จากครูตรีโรงเรียน สกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนครเป็นผู้ได้รับแต่งตั้นเป็นผู้บริหารคนแรก จากครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่และ ผู้อำนวยการ ปี พ.ศ. 2520 ก็ถึงแก่กรรม ต่อจากนั้นก็มีผู้บริหารมาเป็นผู้บริหารดังต่อไปนี้
- นายบุญเลิศ สาขามุละ
- นายคำสิงห์ ศรีสำราญ
- นายแสง ชานัย
- นายฉลอง บาลลา
- นายวิโรจน์ ศรีพรหมทัต
- นายศิริ สาระนันท์
- ดร.วันชัย วิเศษโพธิศรี
- นายประยงค์ บุญมา
- นายประเสริฐ สวัสดิ์จิตร์ ในปัจจุบัน

และเมื่อปี พ.ศ. 2521 โรงเรียนที่ตั้งข้างเคียงทางตะวันออกโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส ได้ถูกยุบรวมเป็น
โรงมัธยมวานรนิวาส ปัจจุบัน โรงเรียนมีพื้นที่  จำนวน  2  แปลง
1.  แปลงที่  1  เป็นพื้นจากพื้นที่เดิมโรงเรียนมัธยมวานรนิวาสรวมกับพื้นที่โรงเรียนวานรนิวาสรวมเป็น จำนวน  63  ไร่  1  งาน  87  ตารางวา
2.  แปลงที่  2  จำนวน  61  ไร่  1  งาน  36  ตารางวา(อยู่ตะวันออกของแปลงที่ 1) 
คติพจน์ : วิชาจ จริยา จ สัมประวัตตันติ (ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรรยา)

ความเป็นมาโรงเรียนวานรนิวาสที่ถูกยุบรวมกับโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส ดังนี้
. . . โรงเรียนวานรนิวาส เป็นโรงเรียนที่จัดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 7 เนื่องจากกระทรวงศึกษาได้จัดทำหลักสูตรการศึกษา พุทธศักราช 2521 โรงเรียนวานรนิวาส ได้นำนักเรียนไปเรียนรวมกันที่โรงเรียนบ้านวานรนิวาส(ราษฎร์บำรุง) และได้รับการยุบรวมกับ โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส ดังนั้นที่ดินโรงเรียนวานรนิวาส จึงได้รวมเป็นโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส จึงทำให้มีพื้นที่มากขึ้น
. . . กล่าวถึงความเป็นมา ของโรงเรียนวานรนิวาส ดังนี้
เดิมที่โรงเรียนวานรนิวาส ครั้งแรก ตั้งขึ้น เมื่อปี  พ.ศ.  2594 โดยใช้พื้นที่หน้าที่ว่าการอำเภอวานรนิวาส(เดิม) (ปัจจุบันคือบริเวณธนาคารออมสินในปัจจุบัน)  สังกัดกรมวิสามัญศึกษา สมัยนั้น โรงเรียนวานรนิวาส  อักษรย่อ คือ  ส.น. 6 โดยมีนายประสิทธิ์  สุวรรณรงค์ ดำรงตำแหน่ง  ครูใหญ่  และมีครูปฏิบัติการสอน  2  คน  คือ  นายวรวิทย์  ไชยโคตร   และนายประวิทย์  วงศ์กาฬสินธุ์  ต่อมา ในปี  2497  ได้ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอวานรนิวาส  มีผู้บริหารดังนี้
1.  นายประสิทธิ์  สุวรรณรงค์
2.  นายศุภชัย  เฮียงราช
3.  นายแก้วกล้า  พลเวียง
4.  นายสว่าง  เอนอุ่น
5.  นายบุญเวียน  คอมแพงจันทร์
          ในช่วงที่มีการขยายการศึกษา  ได้มีการเปลี่ยนแปลงการศึกษา   ระดับประถมศึกษา
เพิ่มเติมเป็น  ป. 5 - ป.7 สังกัดกรมวิสามัญศึกษา โดยใช้อาคารแดง(ภาพข้างล่าง)  เป็นสถานที่เรียน และ ได้เปลี่ยนอักษรย่อโรงเรียนเป็น "ว.ว." เมื่อปี พ.ศ. 2521 โรงเรียนวานรนิวาสถูกยุบไปรวมกับ โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส  ซึ่งเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปัจจุบัน
โรงเรียนมัธยมวานรนิวาสได้ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่  4 พฤศจิกายน 2548 ต่อมา ปี 2554 โรงเรียนมัธยมวานรนิวาสได้ยกระดับเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล(World Class Standard School)

อาคารแดง
อาคารแดงของโรงเรียนวานรนิวาส(เดิม)









ดอกไม้ประจำโรงเรียน

ชัยพฤกษ์(ตำนานไทย)

เป็นไม้มงคล ตามชื่อ หมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ ใบใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่
แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณ สำหรับของไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลาย ที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการและประดับประกอบดาวบนอินทรธนูและหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลายเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia javanica L.ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝ้กเกลี้ยงใช้ทำยาได้
(จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) เป็นชื่อลายชนิดหนึ่ง (จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)

ตำนานชัยพฤกษ์(ฝรั่ง)

ตำนานนี้ปรากฏในเทพปกรณัมของกรีก มีอยู่ว่า มีนางอัปสรนางหนึ่งชื่อ ดาฟเน่ (daphne) เป็นลูกสาวของเทพประจำแม่น้ำสายหนึ่งชื่อพีนีอูส วันหนึ่งดาฟเน่ออกไปเที่ยวเล่นริมป่าไม่ไกลจากแม่น้ำ เธอได้พบกับเทพอพอลโลหรือสุริยเทพเข้าโดยบังเอิญ เทพอพอลโลหลงรักเธอโดยทันที และพยายามฝากรักด้วยคำที่นุ่มนวล แต่ความพยายามนั้นไร้ผล เมื่ออพอลโลสืบเท้ายังไม่ทันเข้าใกล้ เธอก็วิ่งไม่คิดชีวิต เค้ายิ่งวิ่งตามเธอก็ยิ่งวิ่งหนี และวิ่งหน้าสู่แม่น้ำ โดยตระหนักว่าตัวเธอเองเริ่มอ่อนแรง และเค้าที่เป็นคนแปลกหน้าใกล้ถึงตัวแล้ว พอดีถึงริมฝั่งน้ำจึงร้องขอให้พ่อของเธอช่วย สิ้นคำร้องขอ ร่างของเธอค่อยกลายเป็นต้นไม้โดยเท้าทั้งคู่เปลี่ยนเป็นราก แขนทั้งสองข้างและผมพลิ้วสยายกลายเป็นกิ่งก้านใบ เสื้อผ้าเปลี่ยนเป็นเปลือกห่อหุ้มลำต้นที่ยังสั่นไหวด้วยความกลัว ดาฟเน่ได้กลายเป็นต้นชัยพฤกษ์ไปแล้วด้วยความช่วยเหลือของบิดาอพอลโลมาถึงก็ทราบทันทีว่าเธอได้จากไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองเธอแต่อย่างใด จึงมีบัญชาให้ไม้ชัยพฤกษ์เป็นไม้ที่พึงใจส่วนพระองค์ และใครๆ สามารถเก็บช่อใบร้อยเป็นพวงสวมศีรษะเป็นเกียรติยศแก่กวีและนักดนตรีได้ตลอดไป

บางท่านมักสับสนระหว่างต้นราชพฤกษ์กับต้นชัยพฤกษ์ บ่อยๆ 














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น